กิจกรรม 10 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน

ตอบ 2  อธิบาย
ส่วน รอยเลื่อน ที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดิน ไหวค่อนข้างต่ำ
สำหรับรอย เลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่, ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุมลำปาง, เชียงรายและพะเยา รอยเลื่อนปัว ครอบคลุมน่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุมอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุมหนองคายและนครพนม รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุมประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, และพังงา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุมสุราษฎร์ธานี, กระบี่ และพังงา
ตอบ1 คำอธิบาย
ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อม ต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป
การแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปอเมริกา นักภูมิศาสตร์บาง ท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยู เรเชีย)
โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาสอนว่ามี 7 ทวีป ขณะที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป (รวมยุโรปกับเอเชียเป็นยูเรเชีย) ยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักรและเม็กซิโก สอนว่ามี 5 ทวีป (รวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา ไม่มีทวีปแอนตาร์กติกา) ในกีฬาโอลิมปิกแยกโลกเป็น 5 ทวีป (ตามสัญลักษณ์ห่วง 5 วง) ตามทวีปที่มีคนอาศัยอยู่ถาวร (ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกาที่มีคนอยู่ชั่วคราว และควบรวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา)
เราอาจรวมทวีปเป็น มหาทวีป (supercontinent) หรือแบ่งย่อยเป็น อนุทวีป (subcontinent) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีนิยามที่แน่นอนชัดเจนเช่นกัน
ส่วนเกาะต่าง ๆ โดยปกติจะกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่อยู่ใกล้เกาะนั้นที่สุด ดังนั้นหมู่เกาะบริติชโอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. บางครั้งก็กำหนดให้ออสเตรเลีย (อาจรวมถึงนิวซีแลนด์) เป็นทวีปทวีปหนึ่ง โดยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้อยู่ในทวีปใด ๆ เลย (British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า
ในอังกฤษ คำว่า "the Continent" มักหมายถึงทวีปยุโรป โดยไม่รวมบริเตนใหญ่กับไอร์แลนด์ เช่นเดียวกัน คำว่า "the Subcontinent" มักหมายถึง ประเทศอินเดีย
ตอบ1 คำอธิบายข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า สถิติการเกิดแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ระหว่างปี 2518-2549 รวม 8 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 17 ก.พ.2518 แผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ มีความเสียหายเล็กน้อย วันที่ 15 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.5 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนในกรุงเทพฯ วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลางและภาคเหนือหลายคนตื่นตระหนก เสียหายเล็กน้อยแก่อาคารใน กทม. วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แผ่นดินไหวเกิดภายหลังของเหตุการณ์แรก วันที่ 11 กันยายน 2537 แผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอพาน จ.เชียงราย รู้สึกได้ที่ อ.สรวย อ.พาน จ.เชียงราย มีความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ใน อ.พาน จ.เชียงราย วันที่ 9 ธันวาคม 2538 แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอร้องกวาง จ.แพร่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อยที่ จ.แพร่ วันที่ 21 ธ.ค.2538 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน เสียหายเล็กน้อยใกล้ศูนย์กลาง เสียชีวิต 1 คน เพราะล้มศีรษะกระแทกพื้น และครั้งล่าสุดวันที่ 13 ธันวาคม 2549 แผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกที่ อ.แม่ริม อ.สันทราย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย

16/5/2550 แผ่นดินไหวที่เชียงราย
เมื่อเวลาประมาณ 15.57 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 กรมอุตุนิยมวิทยาตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.1 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณพรมแดนลาว-พม่า ห่างจาก จ.เชียงราย ประมาณ 95 กิโลเมตร หรือละติจูดที่ 21.1 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 100.32 องศาตะวันออก มีรายงานความรู้สึกสั่นไหวที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ และบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร เบื้องต้นไม่มีรายงานความเสียหาย 
ที่มา    http://www.excelexperttraining.com/forums/showthread.php?t=91&page=1ตอบ2 คำอธิบายภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน
ซึ่ง O-NET ปี 52 ถามเรื่องนี้ ฉะนั้นต้องตอบ 1000 ลูก



ที่มา   http://www.oknation.net/blog/print.php?id=98009ที่มา  
ตอบ
คำอธิบาย


กลุ่มดาวนายพราน หรือ โอไรอัน (อังกฤษ: Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่าดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า[1] ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน[2][3] การที่มี
ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออก มาเป็นภาพได้ดังนี้ : นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า
กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์น่าเป็น ดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น


ที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99
ตอบ 2
คำอธิบาย

ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น น้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็น ระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี[4]


ที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C

ตอบ 2
คำอธิบาย  
ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 15 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิกฟิค จุดศูนย์กลางสุริยุปราคาอยู่ที่ละติจูด 19 องศา 46.5 ลิปดา ใต้ ลองกิจูด 121 องศา 51.0 ลิปดาตะวันตก
     แนวศูนย์กลางการพาดผ่านของเงามืดนี้เริ่มต้นเวลา 18.15 UT บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่มีพื้นดินหรือหมู่เกาะใกล้เคียง แนวมืดจะพาดผ่านทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิกฟิค แล้วไปสิ้นสุดทางตอนใต้ของประเทศชิลี  ซึ่งไม่มีแนวเงามัวผ่านประเทศไทยเลยทำให้สุริยุปราคาครั้งนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย  

ตอบ 3
อธิบาย  
สถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station; ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2011 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2015 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2020 เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก นับถึงปี ค.ศ. 2009 สถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมด สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มี ประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึง 18 มีนาคม 2010 คณะลูกเรือชุด เอ็กซ์เพดิชั่น 23 นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา 9 ปี อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่




ตอบ 3
อธิบาย

กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International.
สำหรับกระสวยอวกาศของสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมง
กระสวย อวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดย ตลอด
ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูก สูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น